จุดกำเนิดของ "อะพาร่า"
จากการสังเกตการฟื้นฟูบาดแผลได้อย่างรวดเร็วของต้นยางพารา หลังจากโดนกรีดทุกๆวัน จึงเป็นจุดเริ่มต้นให้นักวิทยาศาสตร์เริ่มค้นคว้าหาสารสำคัญที่ช่วยในการฟื้นฟูจนพบ Hevea Brasilensis Extract (HB Extract) พฤกษเคมีจากธรรมชาติที่ น่าอัศจรรย์ สามารถช่วยฟื้นฟูผิวจากปัจจัยต่างๆ ที่มาทำร้ายผิวตลอดเวลา Hevea Brasilensis Extract สารที่ประกอบด้วยแร่ธาตุ และสารบำรุงมากมาย ที่ช่วยเสริมสร้างการทำงานซึ่งกันและกัน
“ความมุ่งมั่นความพยายามอันยาวนาน นำไปสู่การค้นพบอันยิ่งใหญ่
กลายมาเป็น HB Extract ส่วนผสมล้ำค่า ที่เป็นหัวใจสำคัญ ”
ในน้ำยางบริสุทธิ์ที่กุมความมหัศจรรย์แห่งการฟื้นฟู ความอ่อนเยาว์ไว้ได้ความลับนี้เอง ได้ถือกำเนิดเป็น อะพาร่า ที่มีส่วนผสมมหัศจรรย์อันเป็นจุดหมายของการค้นหาและเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติวงการความงาม
สารสกัดจากยางพารา เราคัดสรรจากต้นยางที่ปลูกในอากาศดี อะพาร่า พิถีพิถันในการคัดสรรวัตถุดิบที่ดีมีคุณภาพ โดยต้นยางพาราที่เราใช้จะถูกปลูกในพื้นที่ที่อากาศบริสุทธิ์โดยมีดัชนีนี้วัดคือไลเคน บนเปลือกของต้นยางพารา ไลเคนสามารถใช้ตรวจวัดคุณภาพอากาศได้อย่างแม่นยำ
Protease Inhibitor (PI)
เปปไทด์ (Peptide) หรือ โปรตีนขนาดเล็กที่ยับยั้งการ ทํางานเอนไซม์ทริปซิน (Trypsin) ที่มีผลต่อการเพิ่มความเข้มของ สีผิวโดย Protease Inhibitor ที่สกัดได้มีคุณสมบัติพิเศษด้าน ความคงตัวทนต่อสภาพกรดด่าง และอุณหภูมิสูงได้ดี สารสกัด Hevea Brasilensis Extract ได้ผ่านการทดสอบประเมิน ความระคายเคือง (Skin Irritation) ความเป็นพิษอย่างเฉียบพลัน (Acutetoxicity) และการก่อให้เกิดอาการแพ้ต่อผิวหนัง (Allergenicity Testing)
Amino Acids
Hb Extract มีกรดอะมิโนมากกว่า 17 ชนิด ที่สําคัญคือ โปรตีน Keratin Filament Associated Protein ของเซลล์ผิว หลังการถูกสลาย กรดอะมิโน Filaggrin โดยเฉพาะ Glutamic, Aspartic Acids, Arginine และ Histidine จะทําหน้าที่สําคัญในการเป็นสาร Natural Moisturing Factor (NMF) หรือสารดูดความชื้นธรรมชาติให้เซลล์ผิว ป้องกันไม่ให้ผิวแห้ง ซึ่งเอื้อต่อการอักเสบ และระคายเคืองได้ง่าย โดย Glutamic Acid จะเปลี่ยนเป็น Pyrrolidone Carboxylic Acid (Pca) โดย Pca-forming Enzymes ของเซลล์ผิว ในการหน้าที่เป็น Natural Moisturizing Factor ซึ่งกรดอะมิโนทุกชนิดที่มีอยู่ใน Filaggrin ก็สามารถพบได้ ใน Hb Extract นอกจากนี้กรดอะมิโนบางชนิดใน Hb Extract เช่น Arginine พบว่ามีหน้าที่เพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการรักษาบาดแผลให้หายเร็ว (Wound-healing) Lysine, Giycine และ Threonine ช่วยสังเคราะห์สายใยคอลลาเจน โดย Threonine ช่วยสร้างสายใย อีลาสติน (Elastin) เพื่อสร้างความยืดหยุ่นของผิว ส่วน Tryptophan, Tyrosine และ HistidIne จะทําหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ
องค์ประกอบร่วมอื่นๆ
สารสําคัญกลุ่มน้ําตาล อาทิ Quebrachitol, Scrose และ Fructose มีคุณสมบัติคงความชุ่มชื้นให้เซลล์ผิว (Humectant) วิตามิน B2 (Riboflavin) และ วิตามิน B5 (Pantothenic Acid) มีคุณสมบัติลดการเกิดสิว นอกจากนี้ยังพบกลุ่มแร่ธาตุปริมาณ น้อย (Trace Elements) ที่มีอยู่ในสาร Hb ExTract ได้แก่ ธาตุ Cu และ Zn ที่จําเป็นกับการทํางานของเอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระ ชนิด Superoxide Dismutase (Sod) กลุ่มธาตุ Zn, Cr และ Se พบว่ามีคุณสมบัติต้านการเกิดสิว โดยเฉพาะ Zn มีปริมาณสูงสุด ในแร่ธาตุปริมาณน้อย มีบทบาทในกระบวนการสมานแผล ลดการ อักเสบ กระตุ้นการสังเคราะห์สายใยคอลลาเจน การส่งเสริมการ เจริญเติบโตของเนื้อเยื่อผิว โดย Zn ใน Hb Extract จัดเป็น Organic Zn ที่รวมตัวกับกรดอะมิโนเป็น Zn-amino Acid Complex ซึ่งช่วยนํา Zn เข้าสู่เซลล์ได้ง่ายขึ้น ผลงานวิจัยพบว่า Zn–glycine Extract มีคุณสมบัติเป็น Skin Whitening โดย Zn ทําหน้าที่กระตุ้นการสร้างสาร Metallothionein (Mt) ซึ่งเป็นสารแอนติออกซิแดนท์ภายในเซลล์ที่สามารถขจัดปริมาณสารอนุมูลอิสระที่จําเป็นสําหรับการ กระตุ้นเซลล์ผิว ให้หลั่งสาร Melanocyte Stimulating Hormone (MSH) การลดลงของ MSH ส่งผลให้ประสิทธิภาพของ MSH ในการกระตุ้นกิจกรรมการสร้างเม็ดสีในเซลล์สร้างเม็ดสีลดลงด้วยผลลัพท์ที่ได้คือสีผิวจะขาวขึ้น
ต้นยางพาราเกิดขึ้นครั้งแรกในทวีปอเมริกาใต้และอเมริกากลาง โดยชาวพื้นเมืองรู้จักใช้ประโยนช์ตั้งแต่ ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 15 ที่ชื่อต้นยางพารา เพราะว่ายางชนิดที่กล่าวนี้ซื้อขายกันที่ เมืองพารา ประเทศบราซิล ทวีปอเมริกาใต้ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น เพื่อสะดวกแก่การซื้อขายกันในครั้งนั้น จึงเรียกยางชนิดนี้ว่า “ยางพารา” และต่อมาหลังการสำรวจ ทวีปอเมริกาครั้งที่ 2 ของคริสโตเฟอร์โคลัมบัส ทำให้ยางพาราเริ่มเผยแพร่ไปทั่วโลก
จุดเริ่มต้นของต้นยางพารา ในประเทศไทย
หลัง พ.ศ.2425 ซึ่งช่วงนั้นได้มีการขยายเมล็ดกล้ายางพาราไปปลูกที่ ประเทศต่างๆ ในทวีปเอเชีย และมีหลักฐานเด่นชัดว่า เมื่อปีพ.ศ. 2425 พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ณ ระนอง) ได้นำต้น ยางพาราต้นแรกของประเทศมาปลูกที่อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง จึงได้รับ เกียรติว่าเป็นบิดาแห่งยางพาราไทย จากนั้นท่าน ได้ส่งคนไปเรียนวิธีปลูก ยางพาราเพื่อมาสอนประชาชน พร้อมนำพันธุ์ยางพาราไปแจกจ่าย และส่ง เสริมให้ราษฎรปลูกทั่วไป ซึ่งในยุคนั้นอาจกล่าวได้ว่าเป็นยุคตื่นยางพารา และชาวบ้านเรียกยางพารานี้ว่า “ยางเทศา” และได้มีการขยายพื้นที่ปลูกใน จังหวัดภาคใต้รวม 14 จังหวัด ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปถึง ทุกจังหวัดที่ติด ชายแดนประเทศมาเลเซีย
ตั้งแต่ปี พ.ศ.2534 เป็นต้นมา
ประเทศไทยเป็นที่หนึ่งของโลก ในการผลิตยางธรรมชาติ
การพัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราของประเทศได้เจริญรุดหน้าเรื่อยมา พ.ศ. 2444 พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดีก็ได้นำกล้า ยางพารามาจากประเทศอินโดเซีย โดยปลูกไว้ที่บริเวณหน้าบ้านพักที่อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ซึ่งปัจจุบันนี้ยังเหลือให้เห็นเป็น หลักฐาน เพียงต้นเดียวอยู่บริเวณหน้าสหกรณ์การเกษตรกันตัง และจากยางรุ่นแรกนี้ได้ขยายเนื้อที่ปลูกออกไป จนมีเนื้อที่ปลูก ประมาณ 45 ไร่ นับได้ว่าท่านเป็นเจ้าของสวนยางคนแรกของประเทศไทย
จากพืชพื้นบ้าน ที่ถูกมองข้ามในปัจจุบัน
ปัจจุบันยางพาราในไทย มีพื้นที่ปลูกมากกว่า 12.3 ล้านไร่ กระจายอยู่ทุกจังหวัดในภาคใต้ทว่าเป็นพืชทดแทนป่าไม้ ที่มีจำนวนลดลง การปลูกยางพาราช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้ มีมากขึ้น อีกทั้งภายในสวนยางพารายังมีพืชชนิดอื่นๆ ที่ สามารถปลูกร่วมกันได้จึงทำให้เกิดความหลากหลายทาง ชีวภาพ รวมทั้งเป็นที่อาศัยของสัตว์ต่างๆ นอกจากพืชพันธุ์ จากวัฒนธรรม
ส่งต่อแรงบันดาลใจ อย่างไม่สิ้นสุด
ลวดลาย “ชิโนโปรตุกีส” ที่อยู่ด้านข้างกล่องอะพาร่า คือหนึ่ง ในอารยธรรมทางสถาปัตยกรรมนับร้อยปีที่ได้รับการผสมผสาน ความเป็นจีน และโปรตุเกส เข้าด้วยกัน สะท้อนให้เห็นถึงความ มั่งคั่งทางเศรษฐกิจของภาคใต้อันยาวนาน สู่ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับ แรงบันดาลใจจากวัฒนธรรมไทยอย่างแท้จริง
สอบถามแอดมินได้เลยนะคะ